คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ
...
ใครจะรู้ว่าเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอาการฮอร์โมนเพศไม่สมดุล วีนเหวี่ยงไม่มีสาเหตุ ลดน้ำหนักเท่าไหร่ก็ไม่ลง อ้วนลงพุงทั้งๆ ที่กินแค่นิดหน่อย ปวดท้องเมนส์ทุกครั้งต้องมีอาการนอยด์ เศร้า ซึม เป็นสิวนานเรื้อรัง รักษาคอร์สเป็นหมื่นก็ยังไม่หายซักที นี่แหละ อาการบอก ‘ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล’ !!
ฮอร์โมนเพศ คืออะไร?
ฮอร์โมนเพศ คือ 1 ใน 4 ชนิดของฮอร์โมนในร่างกาย (อ่านเพิ่มเติมฮอร์โมนคืออะไร?) และเป็นเพียงฮอร์โมนชนิดเดียวที่มนุษย์มีแตกต่างกันตามสภาพความเป็นเพศชาย เพศหญิง แต่ก็ไม่ได้แยกขาดจากกันเลยนะคะ พูดง่ายๆ คือ ในร่างกายของเพศหญิงก็จะยังคงมีฮอร์โมนเพศชายอยู่ในตัว แต่ด้วยกลไกของร่างกายจะสร้างความบาลานซ์ให้เรามีสัดส่วนตามเพศได้อย่างไม่มีปัญหาค่ะ แต่ถ้าหากคุณมีอาการข้างต้นอย่างที่เกริ่นไปแม้แต่นิดเดียว คุณอาจจะกำลังเข้าสู่ ภาวะฮอร์โมนเพศไม่สมดุล ได้ค่ะ
แน่ใจได้อย่างไรว่าคุณ ฮอร์โมนเพศสมดุล?
เพศหญิง จะพบฮอร์โมน Estrogen Progesterone มากกว่า จึงส่งผลให้เพศหญิงเป็นเพศที่มีส่วนเว้า ส่วนโค้งทางร่างกาย ผิวพรรณนุ่มนวล ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล ทำให้ไขมันไม่อุดตันในเส้นเลือด มีหน้าอกเพื่อพร้อมในการให้นมบุตร มีรังไข่เพื่อการสืบพันธุ์ โดยเพศหญิงจะมีรังไข่ประมาณ 1-2 ล้านฟอง และทุกๆ การมีประจำเดือนจะสูญเสียไปเรื่อยๆ เมื่อเราก้าวเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนหมดจึงมักมีอาการขี้หลงขี้ลืม ความจำเสื่อม กระดูกพรุน
เพศชาย จะพบฮอร์โมน Androgen Testosterone มากกว่า จึงส่งผลให้เพศชายมีกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรง มีขนหน้าแข้ง หนวด เครา เสียงทุ้มต่ำ มีอวัยวะเพศที่คอยควบคุมความรู้สึกทางเพศ เพศชายจะต่างตรงที่การผลิตอสุจิจะไม่มีจำกัดจำนวนและสามารถผลิตใหม่ได้เรื่อยๆ ไม่เหมือนการเข้าสู่วัยทองในเพศหญิง แต่ถ้าหากมีปัจจัยเร่งภายนอกก็จะทำให้สุขภาพทางเพศของผู้ชายเสื่อมลงได้
จะเห็นได้ว่าทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชายจะมีข้อดีและความจำเป็นต่อร่างกายที่แตกต่างกัน เพราะเหตุนี้ในร่างกายของเพศตรงข้ามจึงต้องมีฮอร์โมนเพศอยู่ร่วมกัน เพราะถ้าเพศหญิงไม่มีฮอร์โมนเพศชาย เราก็จะไม่มีมวลกล้ามเนื้อ มีระบบเผาผลาญที่ดี กระดูกแข็งแรง และในเพศชายถ้าไม่มีฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ก็จะมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
อาการฮอร์โมนเพศไม่สมดุล?
ในเพศหญิง จะแสดงอาการให้เห็นเด่นชัดผ่าน
ประจำเดือนมาไม่ปกติ : โดยปกติแล้วรอบการมีประจำเดือนจะอยู่ที่ 21-35 วัน ซึ่งถ้าประจำเดือนของคุณห่างมากกว่านี้ ไม่มาหลายเดือน แสดงว่าร่างกายหลั่งฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจน หรือโปรเจสเตอเรน ออกมาน้อยหรือมากเกินไป
เป็นสิวเรื้อรัง : การมีสิวช่วงก่อนเป็นประจำเดือน หรือมีบ้างเป็นบางช่วงถือเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่ถ้าหากเป็นอย่างต่อเนื่อง รักษาเท่าไหร่ก็ยังผุดขึ้นมาให้เห็น แสดงว่าปัญหาสิวนี้อาจเกิดจากฮอร์โมนเพศแอนโดรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่หลั่งออกมามากเกินไป ส่งผลให้ต่อมไขมันทำงานผิดปกติ ส่งผลกับเซลล์และผิวหนังรอบๆ รูขุมขน จนก่อให้เกิดการอุดตัน
ปัญหาการนอนหลับ : การนอนหลับยาก นอนไม่หลับ นอนไม่พอ เกิดจากพฤติกรรมประจำวันด้วยส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่ส่งผลเพิ่มขึ้น เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่สมดุลที่สร้างจากรังไข่ แล้วหลั่งน้อยกว่าปกติ
สมองตื้อ สมองล้า คิดไม่ออก จำไม่ได้ : แม้ไม่ได้รับการยืนยันที่แน่ชัด แต่เอสโตรเจนส่งผลกระทบต่อสารสื่อประสาทในสมอง และฮอร์โมนยังเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกันทั้งร่างกาย จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง ซึ่งมักเกิดในวัยก่อนหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว
อารมณ์แปรปรวน : อารมณ์สวิง ขึ้นๆ ลงๆ อย่างรวดเร็ว ในเวลาอันสั้น หรือรู้สึกซึมเศร้า เกิดข้นได้จากฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผลต่อเนื่องไปยังสารเคมีในสมองที่ควบคุมอารมณ์ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
อยากอาหาร น้ำหนักขึ้นผิดปกติ : การมีเอสโตรเจนต่ำ ส่งผลให้คุณอารมณ์ไม่ดี กระตุ้นในการอยากอาหาร และยังส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเลปติน ที่ควบคุมความหิว ความอิ่ม
ความต้องการทางเพศลดลง : ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ต่ำกว่าปกติ ย่อมส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลงตาม
หน้าอกเปลี่ยนแปลงไป : การมีเอสโตรเจนที่ต่ำลง ส่งผลต่อความหนาแน่นของเนื้อเยื่อทรวงอกลดลง จนทำให้รู้สึกเต้านมเหลว นิ่มขึ้น หรือหากฮอร์โมนสูงกว่าปกติ ก็จะส่งผลให้เต้านมคัดตึงหรือทำให้เกิดก้อนหรือซีสต์ที่เต้านมของคุณได้
ในเพศชาย จะแสดงอาการให้เห็นเด่นชัดผ่าน
ความต้องการทางเพศต่ำ : เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดต่ำลงย่อมส่งผลต่อความเป็นเพศชาย โดยเฉพาะแรงขับทางเพศที่หายไป
การไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศ : ขณะที่คุณมีเพศสัมพันธ์นั้น ภาวะที่ไม่สามารถแข็งตัวไว้ได้นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ เป็นผลมาจากหลายฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ซึ่งเทสโทสเตอโรนจะจำเป็นมากที่สุด หากลดต่ำลง
หน้าอกใหญ่ : ในผู้ชายจะมีทั้งเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรน และการที่มีเอสโตรเจนฮอร์โมนของผู้หญิงมากเกินไปจึงเป็นสาเหตุให้เกิดโรค ภาวะนมโตในผู้ชาย
ภาวะมีบุตรยาก : การมีเทสโทสเตอโรนที่ต่ำปกติ ส่งผลแน่นอนต่อการผลิตอสุจิได้น้อยลง
โรคอ้วน : มีการศึกษาว่าเทสโทสเตอโรนต่ำมีแนวโน้มในการเป็นโรคอ้วน เนื่องจากเซลล์ไขมันเผาผลาญเทสโทสเตอโรนให้กลายเป็นเอสโตรเจน และหากมีน้อยมากก็จะยิ่งเปลี่ยนการเผาผลาญได้น้อยลง
โรคกระดูกพรุน : ในเพศหญิงเมื่อหมดวัยประจำเดือนจะเกิดเอฟเฟกต์ด้านอารมณ์ ซึ่งในเพศชายก็เช่นเดียวกัน หากมีภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ จะพบการสูญเสียมวลกระดูกแทน
การทำงานของสมอง : ในงานวิจัยพบว่าเพศชายสูงอายุมีเทสโทสเตอโรนที่ต่ำกว่าเพศชายวัยกลางคน
รักษาอย่างไรให้ฮอร์โมนสมดุล
ก่อนที่คุณจะคิดว่าตัวเองมีอาการอย่างที่กล่าวมาแล้วต้องการอยากจะปรับฮอร์โมนเพศให้สมดุลเพื่อลดปัญหาข้างต้น แต่ถึงอย่างนั้นการเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเพศจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างแน่ชัด จึงจะสามารถปรับฮอร์โมนเพศที่คุณขาดได้อย่างชัดเจน คุณไม่สามารถจะปรับฮอร์โมนเพศด้วยตัวเองได้ เพราะอาจปรับเองผิดพลาดและทำให้ร่างกายเกิดทรุดลงหนักกว่าเดิม
Thrive Wellness Center ตรวจโดยไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร ทราบผลตรวจใน 5-7 วัน
Comments