ในปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ถูกพบว่าเป็นโรคซึมเศร้า จริงๆแล้วแทบทุกประเทศในโลกที่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิต หากเรามองในมุมมองการแพทย์แผนปัจจุบัน จะพบว่า
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า อาจเกิดจาก
ความผิดปกติของเคมีในสมอง เนื่องจากเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมองมีมากหรือน้อยจนเกินไปทำให้เกิดความไม่สมดุล โดยที่ผลของความผิดปกตินี้ ส่งผลต่อร่างกายแบบที่คุณไม่อาจควบคุมได้จนเกิดโศกนาฏกรรมได้ ทั้งการฆ่าตัวตาย การทำร้ายผู้อื่น หรืออาการคุ้มคลั่ง
การส่งต่อทางพันธุกรรม พบว่าหากคนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้าจะทำให้เรามีโอกาสในการเป็นมากกว่าคนทั่วไปถึง 20% เมื่อโดนกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ
ความเครียดสะสม นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เข้าไปกระตุ้นให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในเชิงลบที่กระทบถึงจิตใจ เช่น การสูญเสียคนในครอบครัวหรือคนที่รัก การหย่าร้าง การตกงาน ความเครียดทางด้านการเงิน หรือปัญหาสุขภาพที่เป็นผลพวงมาตั้งแต่โรคโควิด เป็นต้น
ฮอร์โมนเพศหญิงสวิง เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงมีความผิดปกติก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าแบบชั่วคราวได้ง่ายขึ้น เช่น ช่วงตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตร วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น ซึ่งต้องหมั่นสังเกตุตนเองเพื่อป้องกันซึมเศร้าเรื้อรังต่อเนื่อง
การใช้ยาบางชนิด อย่างต่อเนื่อง เช่น ยานอนหลับ ยารักษาสิว ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด รวมถึงผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ มักจะทำให้การทำงานของสมองส่วนหน้าผิดปกติ ยิ่งทำให้การควบคุมส่วนต่างๆของร่างกายถูกยากดประสาทเอาไว้ และมักจะมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพอื่นๆอีกด้วย
“หากมองในอีกมุม สาเหตุของโรคซึมเศร้า มักจะถูกเพาะหรือบ่มมา และใช้ระยะเวลานานกว่าจะแสดงให้เห็นอาการชัดเจน สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่นักบำบัดพบเป็นส่วนใหญ่ มักเกิดจากปมที่ถูกเลี้ยงดูในวัยเด็ก” คุณชิดจันทร์ นัดบำบัด Bach Flower Remedies
ประสบการณ์เป็นเชื้อเพลิง ที่ทำให้โรคซึมเศร้ากำเริบ ซึ่งนับตั้งแต่การเลี้ยงดูในวัยเด็ก เหตุการณ์ร้ายๆ หรือแผลที่อยู่ในใจมักจะทําให้ผู้คนรู้สึกด้อยค่าตัวเอง รู้สึกดีไม่พอ หรือคิดว่าตนเองเป็นคนที่โชคร้ายอยู่ตลอด เมื่อโตขึ้นแล้วเจอกับความผิดหวังเรื่องการงาน เรื่องความรัก เรื่องครอบครัว หรือช็อคกับเหตุการณ์บางอย่างก็ทำให้กลับไปจี้ปมในวัยเด็ก ผู้ที่มีสภาวะจิตใจเปราะบาง หรือรับมือไม่ไหวจะนําพาไปสู่การแยกตัวออกจากสังคม อยากอยู่คนเดียวไม่ยุ่งกับใคร จนกลายเป็นซึมเศร้าในที่สุด
คนเป็นโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่จะไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีความหวัง ไม่รู้จะอยู่ไปเพื่อใคร ไม่มีอะไรที่อยากจะทําต่อ อาจผิดหวังหรือได้รับรับความทุกข์ทรมานใจจากเรื่องต่างๆ เช่น ผิดหวังจากความรัก โดนไล่ออก ไม่ได้เลื่อนขั้น หรือธุรกิจล้ม ความกดดันจากปัญหาต่างๆ อาจะทำให้จิตใจหดหู่ จนสูญเสียความมั่นใจไป
บ่อยครั้งที่ความซึมเศร้าเกิดจากความผูกพันธ์ ปัญหาการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยง ก็ยังเป็นผลให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ หลายคนมีอาการ After Shock จากการสูญเสียคนรักแบบกระทันหัน เช่น อุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ไม่คาดคิด ก็จะนำพาความเจ็บปวดใจ และป่วยกายไปพร้อมๆกัน ดังนั้น ควรสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง หรือมีเป้าหมายในการมีชีวิตต่อ โดยลองเริ่มจากเป้าหมายเล็กๆ ที่ทำได้ง่าย เช่น
การเลี้ยงสัตว์ เพราะแค่รู้ว่าจะต้องกลับบ้านไปให้อาหารสัตว์เลี้ยงก็ถือเป็นสิ่งจูงใจที่ทําให้เขาอยากมีชีวิตอยู่ต่อได้
การอ่านหนังสือให้จบสักเล่ม
วางแผนเที่ยวพักผ่อนธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
งดแอลกอฮอล์ (อาจจะกำหนดเป็นทุกวันศุกร์)
ฝึกยิ้มกับตัวเองทุกเช้า
ออกกำลังกายยามว่าง
ดูหนังหรือดูซีรี่ย์แนวตลก สดใสไม่ตึงเครียด
ปลูกต้นไม้
คนเป็นโรคซึมเศร้าจะไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ เวลามีปัญหามักจะมองไม่เห็นทางออก และจะคอยโทษตัวเองเป็นหลัก การกลับมาดูแลจิตใจตนเอง จึงเป็น Health Trend ที่คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งการรักษาแบบทางเลือก การใช้ศิลปะบำบัด การฝึกหรือเจริญสติ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมก็มีส่วนช่วยให้เกิด Brain Detoxification หรือเคลียร์ขยะในสมองออก ทั้งยังเป็นการเพิ่มสารแห่งความสุขให้กับร่างกายอีกด้วย
สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าที่ควรเฝ้าระวัง สังเกตตัวเอง และคนใกล้ชิด ก่อนที่โรคซึมเศร้าจะรุนแรง
ด้านอารมณ์ เช่น เศร้าหมอง ท้อแท้ ไม่มีความสุข ไม่รู้สึกสนุกกับสิ่งที่ทําประจํา เบื่อทุกสิ่งรอบข้าง อารมณ์หงุดหงิดง่ายขึ้น
ด้านความจํา เช่น ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทําอยู่ได้ หลงลืมบ่อย ทํางานผิดๆถูกๆ
ด้านร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหารกินได้น้อยลงหรือกินอาหารมากขึ้น นอนไม่หลับหรือนอนมากกว่าปกติ ไม่มีเรี่ยวแรง เหนื่อยง่าย
ด้านสังคม เช่น ไม่อยากยุ่งกับใคร เริ่มเก็บตัวอยากอยู่คนเดียว
ด้านความคิด เช่น เริ่มมองสิ่งต่างๆในแง่ลบมากกว่าความเป็นจริง รู้สึกไม่อยากมีชีวิต อยากฆ่าตัวตาย (ซึ่งมักจะเป็นกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าขั้นรุงแรง)
ปรับสมดุลทางจิตใจทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือมีภาวะเครียดสะสม หรือ Mood Swing 💐Bach Flower ศาสตร์แห่งการปรับสมดุลทางจิต ช่วยเสริมสร้าง Mental Health ให้คืนความสมดุล เหมาะสําหรับผู้ที่มีภาวะความเครียดสะสม โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคแพนิค ผู้ที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่รุนแรงในอดีตจนเป็นแผลฝังใจ ทั้งยังช่วยลดอาการฉุนเฉียวโมโห อารมณ์ไม่นิ่งได้อีกด้วย
หากท่านใดมีความสนใจสามารถเข้ามาปรึกษากับนักบําบัด คุณจันทร์ ชิดจันทร์ นวลแพง Bach Flower Registered Practitioner จากสถาบัน Bach Flower Centre ประเทศอังกฤษ
ได้ทุกวันศุกร์ เวลา 10:00-15:00 น. ที่ Thrive Wellness Clinic
จองคิวตอนนี้ Line : @thrivewellnessth หรือโทร : 095-934-9640
תגובות