top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

ท้องเสีย ท้องผูก ถ่ายผิดปกติ เป็นแล้วไม่หายขาดเพราะโรค ลำไส้แปรปรวน (IBS)




ลำไส้แปรปรวน หรือ โรค IBS เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะด้วยอาการที่มักเกิดขึ้นทุกเมื่อและเกิดซ้ำได้บ่อยครั้ง ไม่หายขาด ผ่านอาการท้องผูก ท้องเสีย การขับถ่ายเปลี่ยนไป ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตจนถึงขั้นหยุดชะงัก


ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนเรียนรู้ถึงการทำงานของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ว่าทำไมถึงเกิดภาวะลำไส้แปรปรวนขึ้นได้ อาหารและพฤติกรรมใดที่ควรเลี่ยง และการสังเกตตนเอง





ลำไส้ สำคัญอย่างไร?

ลำไส้ มีหน้าที่ในการลำเลียง ดูดซึมและย่อยอาหารเพื่อประโยชน์แก่ร่างกาย สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ลำไส้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเองค่ะ โดยไม่ต้องได้รับการสั่งการจากสมอง และบางทีสารเคมีบางอย่างก็ถูกสร้างจากลำไส้ไปส่งกลไกให้สมองทำงานอีกด้วย ลำไส้จึงถูกขนานนามว่าเป็น ‘สมองลำดับสองของร่างกาย’

เมื่อมีการรับประทานอาหารไม่ว่าจะเป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ถูกลำเลียงเข้าสู่ลำไส้แล้ว ลำไส้จะคัดแยกสารอาหารได้เองทันที และดูดซึมต่อไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่ต้องการพลังงานจากสารอาหารนั้น หรือหากสิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย ก็เปรียบได้กับเป็นตำรวจตรวจจับและขับพิษออกจากร่างกายให้ทันทีผ่านอาการท้องเสีย


สารเคมีบางอย่างก็ถูกสร้างจากลำไส้ไปส่งกลไกให้สมองทำงานอีกด้วย ลำไส้จึงถูกขนานนามว่าเป็น ‘สมองลำดับสองของร่างกาย’


ลำไส้แปรปรวน คืออะไร?

โรคลำไส้แปรปรวน หรือ IBS (Irritable Bowel Syndrome) คือโรคที่ลำไส้ส่วนปลายมีการทำงานที่ผิดปกติ นั่นก็คือปลายลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องร่วมกับการขับถ่าย เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นภาวะเรื้อรังไม่หายขาด

ปัจจุบันภาวะลำไส้แปรปรวนมีผู้ป่วยในไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มากเป็นลำดับ 2 รองจากไข้หวัด พบว่ามีถึง 10-20% ของประชากรทั่วไป แต่มีเพียง 15% เท่านั้นที่เข้ารับการรักษา สามารถพบได้ในทุกช่วงวัย แต่ช่วงวัยทำงานมีความเสี่ยงมากที่สุด (20-30 ปี)

“ท้องเสีย ท้องผูก บ่อยครั้งอาจเป็นลำไส้แปรปรวน”

อาการแบบไหนเรียกลำไส้แปรปรวน

  • ปวดท้องอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

  • ปวดท้องทั้งก่อนและหลังถ่ายหนัก

  • ขับถ่ายผิดปกติไปจากเดิม เช่น จากขับถ่ายวันละครั้ง เป็น 2-3 วันครั้ง และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

  • มีอาการปวดท้องน้อย ปวดเกร็ง ปวดมาก ปวดน้อยไม่เท่ากันในแต่ละครั้ง

  • ท้องอืด แน่นท้อง มีลมมากในท้อง เรอบ่อยๆ อาจมีอาการ 3 เดือน - 1 ปีที่ผ่านมา

ทำไมเราถึงเป็นลำไส้แปรปรวน?

สาเหตุของโรค IBS ยังไม่ถูกพบอย่างแน่ชัดว่ามาจากการอักเสบหรือเนื้องอกบริเวณลำไส้ แต่ที่แน่ชัดคือมีการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ลำไส้ค่ะ และเกิดได้จากปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังนี้

  1. การบีบตัวหรือการเคลื่อนที่ของลำไส้ผิดปกติ - ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก - เกิดจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนในผนังลำไส้ผิดปกติ

  2. ผนังลำไส้ถูกกระตุ้นผิดปกติหรือไวต่อสิ่งเร้า - ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้มีการเคลื่อนตัวและบีบตัวมากกว่าปกติ - ถูกกระตุ้นจากการรับประทานอาหาร หรือความเครียด วิตกกังวล เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

  3. การควบคุมการทำงานระหว่างประสาทรับความรู้สึก ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมองผิดปกติ - สารที่ควบคุมการทำงานหลายชิดและทำหน้าที่แตกต่างกันเกิดผิดปกติ

  4. การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร - มีการค้นพบว่าในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนมีชนิดแลละจุลินทรีย์ที่ต่างออกไป

  5. พันธุกรรม - มีการค้นพบว่าหากบุคคลในครอบครัวมีอาการป่วยเป็นลำไส้แปรปรวนจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า

“เพศหญิงมีความเสี่ยง IBS มากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า”

ปรับอาหารลดควาามเสี่ยงปัญหาลำไส้

  • ลดการรับประทานเนื้อสัตว์หรือไข่ เพราะเป็นโปรตีนย่อยยาก เน้นโปรตีนย่อยง่ายจำพวก เต้าหู้ ถั่วเหลือง เนื้อปลา

  • หลีกเลี่ยง หรือลดการทานอาหารประเภททอด ของมัน

  • ปรับการรทานเบเกอร์รี่ให้น้อยลง เพราะอุดมไปด้วยนม และเนย

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรอดอาหารและทานอาหหารอย่างเร่งรีบ

  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด

  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เพราะอาจทำให้เกิดการกระตุ้นเพิ่มขึ้น

  • เน้นรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ถั่ว ธัญพืช ผัก ผลไม้ สนับสนนุนการขับถ่ายสสะดวกมากขึ้น

  • เสริมโยเกิร์ต นมเปรี้ยวเป็นประจำทุกวัน เพิ่ม Probiotic แบคทีเรียชนิดดีให้แก่ลำไส้ ช่วยสร้างสมดุล ลดการอักเสบของลำไส้ และสนับสนุนการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

อาการลำไส้แปรปรวนมักเกิดขึ้นได้ง่ายและหลายปัจจัยร่วม ทั้งยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดถึงความเสี่ยง จึงควรสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายและสุขภาพลำไส้ตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

แต่ถึงอย่างนั้นลำไส้แแปรปรวนก็บ่งบอกได้ยาก แค่อาการท้องเสีย ท้องผูก การขับถ่ายไม่สามารถการันตีได้มากพอ ต้องตรวจผนังลำไส้อย่างละเอียดร่วมกับสารหรือฮอร์โมนที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของลำไส้จึงจะรู้ผลและเฝ้าระวังได้ทัน

ลดปัจจัยเสี่ยงลำไส้แปรปรวนผ่านการตรวจ Urine Organic Profile Test

ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก มีแนวทางการรักษา พร้อมตรวจวิเคราะห์กรดอินทรีย์ในปัสสาวะ มากกว่า 50 ชนิด ที่ช่วยป้องกันการเสียหายของลำไส้แบบล่วงหน้าและทันท่วงทีด้วยการตรวจ Urine Organic Profile Test


ตรวจ Urine Organic Profile Test เหมาะกับ

  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบการเผาผลาญ

  • ผู้ที่ร่างกายไม่สามารถขับสารพิษได้

  • กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง หรือ Adrenal fatigue

  • ผู้ที่น้ำหนักขึ้น ลง แบบไม่มีสาเหตุ

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และการขับถ่ายเป็นประจำ

  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ป่วยง่าย หรือ ป่วยบ่อย

  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ รวมถึงอาการทางจิต ระบบประสาทต่างๆ


ประโยชน์ของ Urine Organic Profile Test

  • กระบวนการเผาผลาญไขมัน (Fatty Acid Metabolism) : บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบการเผาผลาญไขมันและกรดไขมัน ที่ส่งผลให้ควบคุมน้ำหนักได้ยาก

  • กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต : ตรวจการทำงานของวงจรคีโตซิส หรือ ร่างกายไม่สามารถดูดซึมพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมาเป็นแหล่งพลังงานหลักได้

  • การเสียสมดุลของลำไส้ : การตรวจหาแบคทีเรีย หรือ เชื้อรา ในลำไส้ที่มากเกินกว่าปกติ จนทำให้ลำไส้เสียสมดุล

  • การทำงานของ Vitamin B : การตรวจดูการทำงานของวิตามินบีนั้นปกติ และทำงานเผาผลาญอย่างมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ ในระดับเซลล์

  • ตรวจสมดุลการสร้างสื่อประสาท (Neuro Transmitter) : ตรวจการสร้างฮอร์โมนจำพวกโดปามีน เซโรโทนีน ที่เป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นใน ที่มีส่วนสำคัญในการการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และระบบภูมิคุ้มกัน

  • เตาผลิตพลังงานเสื่อมสภาพ (Mitochondria Dysfunction) : ตรวจไมโตคอนเดรียในร่างกาย ที่เปรียบเหมือนเตาผลิตพลังงานของเซลล์

  • ภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) : บ่งบอกภาวะการไม่สมดุลของสารต้านอนุมูลอิสระ หากร่างกายบริโภคไขมันมากเกินไปจนเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายมากขึ้น ภาวะการไม่สมดุลนี้จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย

  • ความสามารถในการขจัดสารพิษ (Detoxification) : ตรวจดูประสิทธิภาพของตับและสำไส้ในการกำจัดสารพิษและดูดซึมอาหาร




Comments


bottom of page