ฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อเพศหญิง คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone), ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) และฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ฮอร์โมนเพศนอกจากจะสำคัญความต้องการทางเพศ การสืบพันธุ์ ยังมีส่วนสำคัญอย่างมากทั้งทางอวัยวะภายใน เรื่องอารมณ์ความรู้สึก เช่น มีความสุข หรือเศร้าหมอง หรือด้านความคิดสร้างสรรค์
อาการฮอร์โมนเพศไม่สมดุลในเพศหญิง จะแสดงอาการให้เห็นเด่นชัด คือ ประจำเดือนมาไม่ปกติ
โดยปกติแล้วรอบการมีประจำเดือนจะอยู่ที่ 21-35 วัน ซึ่งถ้าประจำเดือนของคุณห่างมากกว่านี้ ไม่มาหลายเดือน (หรือ 3 เดือนขึ้นไป) แสดงว่าร่างกายหลั่งฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจน หรือโปรเจสเตอเรน ออกมาน้อยหรือมากเกินไป
ประจำเดือนขาด (Amenorrhea) คือ ภาวะที่เลือดประจำเดือนไหลออกมาไม่ปกติ เนื่องจากความผิดปกติของฮอร์โมน และภายในมดลูก
ประจำเดือนขาดเป็นระยะเวลา 3 เดือน : ภาวะขาดประจำเดือน
ประจำเดือนขาดไป 1 - 3 เดือน : ภาวะประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ
การประจำเดือนขาด 4 วัน หรือประจำเดือนขาด 7 วัน จะเรียกว่าประจำเดือนเคลื่อน ซึ่งมักส่งผลในช่วงเวลาสั้นๆ อาจมีผลมาจากความเครียด การขาดสารอาหาร เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วฮอร์โมนผิดปกติยังส่งผลให้มีอาการอื่นๆร่วมด้วยกับประจำเดือนขาด ดังนี้
เป็นสิวเรื้อรัง ในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ : การมีสิวช่วงก่อนเป็นประจำเดือน หรือมีบ้างเป็นบางช่วงถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากเป็นอย่างต่อเนื่อง รักษาเท่าไหร่ก็ยังผุดขึ้นมาให้เห็น แสดงว่าปัญหาสิวนี้อาจเกิดจากฮอร์โมนเพศแอนโดรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่หลั่งออกมามากเกินไป ส่งผลให้ต่อมไขมันทำงานผิดปกติ ส่งผลกับเซลล์และผิวหนังรอบๆ รูขุมขน จนก่อให้เกิดการอุดตัน
ปัญหาการการนอนหลับยาก นอนไม่หลับ : แม้จะเกิดจากพฤติกรรมประจำวันด้วยส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่ส่งผลเพิ่มขึ้น เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่สมดุลที่สร้างจากรังไข่ แล้วหลั่งน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการร้อนวูววาบระหว่างคืน กระทบคุณภาพการนอน
สมองตื้อ สมองล้า คิดไม่ออก จำไม่ได้ : แม้ไม่ได้รับการยืนยันที่แน่ชัด แต่เอสโตรเจนส่งผลกระทบต่อสารสื่อประสาทในสมอง และฮอร์โมนยังเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกันทั้งร่างกาย จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง ซึ่งมักเกิดในวัยก่อนหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว
อารมณ์แปรปรวน : อารมณ์สวิง ขึ้นๆ ลงๆ อย่างรวดเร็ว ในเวลาอันสั้น หรือรู้สึกซึมเศร้า เกิดข้นได้จากฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผลต่อเนื่องไปยังสารเคมีในสมองที่ควบคุมอารมณ์ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
อยากอาหาร น้ำหนักขึ้นผิดปกติ : การมีเอสโตรเจนต่ำ ส่งผลให้คุณอารมณ์ไม่ดี กระตุ้นในการอยากอาหาร และยังส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเลปติน ที่ควบคุมความหิว ความอิ่ม
ความต้องการทางเพศลดลง : ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ต่ำกว่าปกติ ย่อมส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลงตาม ทำให้ยากต่อการมีบุตร
หน้าอกเปลี่ยนแปลงไป : การมีเอสโตรเจนที่ต่ำลง ส่งผลต่อความหนาแน่นของเนื้อเยื่อทรวงอกลดลง จนทำให้รู้สึกเต้านมเหลว นิ่มขึ้น หรือหากฮอร์โมนสูงกว่าปกติ ก็จะส่งผลให้เต้านมคัดตึงหรือทำให้เกิดก้อนหรือซีสต์ที่เต้านมของคุณได้
อย่าชะล่าใจหากประจำเดือนขาด ตรวจเช็กฮอร์โมนเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา
หากคุณกำลังมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาดหายไปทั้งที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และต้องการทราบถึงความผิดปกติว่าต้นเหตุเกิดจากอะไร เพราะฮอร์โมนหนึ่งตัว ส่งผลต่อฮอร์โมนอีกหลายๆตัว
ตรวจระดับฮอร์โมนเป็นประจำทุกปี และเลือกรับการรักษาที่ปลอดภัย ไม่ใช้ยาเคมี
Total Hormone Package ตรวจ 17 รายการ ราคา 17,190 บาท รวมวิตามินตามผลตรวจ 3,000 บาท
Essential Hormone Package ตรวจ 9 รายการ ราคา 6,490 บาท
Comments