World Alzheimer's วันอัลไซเมอร์โลก ตรงกับวันที่ 21 กันยายมของทุกปี จัดตั้งโดยองค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ ADI (Alzheimer’s Disease International) โดยวันอัลไซเมอร์โลก ถูกตั้งชื่อตามจิตแพทย์ชาวเยอรมัน นามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบโรคอัลไซเมอร์เป็นคนแรก เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้าใจกับโรคนี้มากยิ่งขึ้นจึงมีการรณรงค์และจัดตั้งวันอัลไซเมอร์โลกขึ้นมา
โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง ซึ่งเป็นโรคที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ มักจะมีอาการสูญเสียความทรงจำเริ่มจากน้อยๆและค่อยๆมากขึ้นตามลำดับ โดยโรคนี้จะมีการเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ อีกทั้งโรคอัลไซเมอร์ยังเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) อีกด้วย
เกิดจากอะไรได้บ้าง
อายุที่เพิ่มขึ้น ความชราตามวัยนับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาของโรค โดยโอกาสเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หลังจากที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
ยีนทางพันธุกรรม พันธุกรรมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยแม้จะมีผู้ป่วยในครอบครัว แต่หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวหลายคนมีประวัติหรือประสบกับโรค ควรต้องรับการปรึกษากับแพทย์ถึงความเสี่ยงต่อโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้น
มีประวัติที่ได้รับความกระทบกระเทือนสมอง เช่น ล้ม หัวกระแทก หรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรงทำให้มีความประทบกระเทือนสมอง หรือกระโหลกศีรษะ
โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ถึงแม้โรคเหล่านี้จะไม่ใช่สาเหตุหลักของการเป็นโรคอัลไซเมอร์แต่ก็เป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน
สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
“Dementia is a degenerative brain condition that affects over 50 million people internationally and which robs a person of their memory,competency, comprehension and behavioural awareness, usually slowly, over years, it is a sad condition to live with or to witness in a loved one, there are over 100 forms of dementia, the most common being Alzheimer’s Disease at 50-60% of all dementia cases.”
ภาวะสมองเสื่อม ส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก โดยผู้คนเหมือนถูกปล้นความทรงจำ ความสามารถ ความนึกคิด ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคล โดยส่วนมากจะค่อยๆเผยอาการอย่างช้าๆ ต่อเนื่อง ยาวนานมากกว่า 1 ปี ภาวะสมองเสื่อมมีมากกว่า 100 รูปแบบ โดย 50-60% พี่พบคือ โรคอัลไซเมอร์ที่ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด
เราจะสังเกตตัวเองหรือคนในครอบครัวเราอย่างไร
อาการของโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากอัลไซเมอร์นั้น จะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ การสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว
อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์อาจแบ่งคร่าวๆ ได้เป็นสามระยะ ได้แก่
ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำๆเรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า
ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลง เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย เป็นต้น
ระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นระยะรุนแรง ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่ายๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ เป็นต้น รวมทั้งภูมิคุ้มกันอ่อนแอเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อน ภาวะการติดเชื้อที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลนครธน
การดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากรู้จักดูแลตนเองก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะความจำสั้น ภาวะสมองเสื่อม ช่วยให้สมองมีความจำที่ดีขึ้นได้ ควรดูแลตนเองดังนี้
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษทั้งหลายที่อยู่ในแอลกอฮอล์และบุหรี่จะเข้าไปทำลายและก่อให้เกิดอันตรายต่อสมอง
ออกกำลังสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้เซลล์สมองใหม่ๆอยู่รอด และทำงานเชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น หากเซลล์สมองสูญเสียหรือเซลล์สมองไม่เชื่อมต่อกันจะส่งผลต่อความจำนั่นเอง
หากิจกรรมบริหารหรือฝึกสมองให้ได้คิดอยู่ตลอด ก็ช่วยให้สมองแข็งแรง ยืดประสิทธิภาพของสมองให้ใช้งานได้อย่างดีและใช้งานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกจนเกินไป เพราะการนอนดึกจะยิ่งส่งผลต่อสมองโดยตรงทำให้สมองอ่อนล้าได้ง่าย
การดูแลด้วยวิตามิน แร่ธาตุ สารอาหารน้ำ
IV DRIP Brain Active การดริปวิตามินเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย ระบบประสาท รวมถึงสมอง เพราะ วิตามินแร่ธาตุ สามารถดูดซึมนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสูตรที่มีสารน้ำที่ช่วยฟื้นฟู สมองและระบบประสาท เช่น Cerebrolysin หรือ Cerebrum ซึ่งใช้ในการดูแลเคสอัลไซเมอร์ อีกทั้งยังช่วยป้องกัน Stoke หรือ สมองเสื่อมอีกด้วย นอกจากนี้ IV DRIP Brain Active ยังมี วิตามินอีกหลากหลายชนิด เช่น Vitamin C, Vitamin B รวม ที่ช่วยเสริมสร้างพลังงานและฟื้นฟูระบบประสาทอีกด้วย
IV DRIP Brain Active ราคา 3,800 บาท/ครั้ง
**ราคาแพคเกจ สอบถามที่ไลน์ @thrivewellnessth หรือ กดที่ลิงค์ 🧩 https://lin.ee/i0InL89
EPS Machine EPS Cutting…
EPS Machine Eps Raw…
EPS Machine EPS Recycling…
EPS Machine EPS Mould;
EPS Machine EPS Block…
EPP Machine EPP Shape…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine Aging Silo…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine EPS and…
EPS Machine EPS and…
AEON MINING AEON MINING
AEON MINING AEON MINING
KSD Miner KSD Miner
KSD Miner KSD Miner
BCH Miner BCH Miner
BCH Miner BCH Miner
EPS Machine EPS Cutting…
EPS Machine Eps Raw…
EPS Machine EPS Recycling…
EPS Machine EPS Mould;
EPS Machine EPS Block…
EPP Machine EPP Shape…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine Aging Silo…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine EPS and…
EPS Machine EPS and…
AEON MINING AEON MINING
AEON MINING AEON MINING
KSD Miner KSD Miner
KSD Miner KSD Miner
BCH Miner BCH Miner
BCH Miner BCH Miner