โดยปกติผู้หญิงที่มีประจำเดือนมักจะมีอาการก่อนที่ประจำเดือนจะมาอย่างน้อย 2-3 วัน ซึ่งจะมีอาการปวดท้องน้อย หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่คงที่ เราจะเรียกอาการเหล่านี้ว่า PMS (Premenstrual Syndrome) และอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อประจำเดือนมาประมาณ 3 วัน
PMS (Premenstrual Syndrome) คืออะไร
PMS (Premenstrual Syndrome) หรือ อาการก่อนเป็นประจำเดือน คือ อาการที่มักเกิดขึ้นก่อนประจำเดือนมา ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน(Progesterone) ในช่วงก่อนมีประจำเดือน โดยอาการเหล่านี้มักจะมีผลกระทบและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของสาวๆหลายคน เพราะอาการของ PMS จะส่งผลทางด้านร่างกายและทางด้านอารมณ์เป็นส่วนมาก
อาการที่พบได้บ่อยของ PMS
อาการทางด้านร่างกาย
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
ปวดท้องน้อย
เจ็บเต้านม
ท้องผูกหรือท้องเสีย
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
มีสิวขึ้น
ปวดหลัง
อาการทางด้านอารมณ์
อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย
รู้สึกเครียด ไม่มีสมาธิ
รู้สึกซึมเศร้า ร้องไห้กับเรื่องเล็กน้อย
รู้สึกวิตกกังวล
รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ หรือเบื่ออาหาร
นอนไม่หลับ
สาเหตุของ PMS นอกจากจะเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน(Progesterone) มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างที่มีการตกไข่เพราะระดับฮอร์โมนเพิ่มมากว่าปกติแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆร่วมด้วยดังนี้
ปัจจัยภายใน
การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง เมื่อระดับฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ลดต่ำลง จะส่งผลต่อทางด้านอารมณ์และกระตุ้นให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้
ปัจจัยภายนอก
ตัวเราเองหรือคนในครอบครัวมีโรคประจำตัวและภาวะผิดปกติทางอารมณ์ เช่น อาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea), โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder), ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression), ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder), ภาวะวิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder), โรคจิตเภท (Schizophrenia) และโรคไบโพลาร์ (Bipolar)
คนในครอบครัวมีประวัติของ PMS
พฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารรสจัดและอาหารแปรรูป ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย และการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการ PMS รุนแรงขึ้น
วิธีป้องกันการเกิดอาการของ PMS
เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียมและใยอาหาร เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ นม และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือ น้ำตาล ไขมันสูง และรับประทานอาหารโดยการแบ่งเป็นมื้อย่อยๆในแต่ละวัน เพื่อลดอาการท้องอืด
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าและอาการซึมเศร้า เช่น เดินเร็ว ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
ลดความเครียด เช่น การเล่นโยคะ การนวดผ่อนคลาย หากิจกรรมที่มีความสนใจทำ
อาการของ PMS มักจะหายได้เองหลังจากมีประจำเดือน หากมีอาการปวดท้อง หงุดหงิด ยังถือว่าเป็นอาการที่ยังปกติไม่ถึงขั้นรุนแรง แต่ถ้าหากส่งผลให้เกิดความเครียดรุนแรง หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงก่อนจะแนะนำและวางแผนในการรักษา
EPS Machine EPS Cutting…
EPS Machine Eps Raw…
EPS Machine EPS Recycling…
EPS Machine EPS Mould;
EPS Machine EPS Block…
EPP Machine EPP Shape…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine Aging Silo…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine EPS and…
EPS Machine EPS and…
AEON MINING AEON MINING
AEON MINING AEON MINING
KSD Miner KSD Miner
KSD Miner KSD Miner
BCH Miner BCH Miner
BCH Miner BCH Miner
EPS Machine EPS Cutting…
EPS Machine Eps Raw…
EPS Machine EPS Recycling…
EPS Machine EPS Mould;
EPS Machine EPS Block…
EPP Machine EPP Shape…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine Aging Silo…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine EPS and…
EPS Machine EPS and…
AEON MINING AEON MINING
AEON MINING AEON MINING
KSD Miner KSD Miner
KSD Miner KSD Miner
BCH Miner BCH Miner
BCH Miner BCH Miner