top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

ผลกระทบต่อการนอนหลับ ของแสงสีฟ้า จากมือถือ แท็บเลต



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...




แสงสีฟ้าทำคุณตาค้าง


รู้ไหมว่า แสงสีฟ้าจากจอมือถือ แท็บเล็ต ส่งผลให้ คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี เปลี่ยนแปลง Cycle การนอน ทำให้สมองไม่รู้เวลานอน นอนหลับยาก ตื่นมามึนงง สมองเบลอ ส่งผลระยะยาว เกิดอาการหลงลืม กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน



ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พาหาสาเหตุผลกระทบสุขภาพ จากแสงสีฟ้า เมื่อเล่นมือถือก่อนนอน



ทำไมเราควรเข้านอนเร็ว


การนอนหลับอย่างมีคุณภาพในแต่ละวัน ควรพักผ่อนไม่น้อยหรือมากกว่า 6-8 ชั่วโมง และควรเข้านอนช่วงเวลาระหว่าง 21.00 น. - 00.00 น. เพื่อให้นาฬิกาชีวภาพได้ทำงานอย่างปกติ หากนอนหลับช้ากว่านี้จะส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนต่างๆ โดยเฉพาะโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งส่งผลต่อการซ่อมแซมร่างกาย และการพักผ่อนของอวัยวะต่างๆที่ทำงานอย่างหนักในตอนกลางวัน และสารเมลาโทนินหลั่งน้อยลง (Melatonin) ซึ่งส่งผลทำให้นอนหลับยากขึ้น



แสงสีฟ้า จากมือถือ แท็บเล็ต ส่งผลเสียต่อสายตา


แสงสีฟ้า (Blue light) จากโทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือ Gadgets ต่างๆ คือ คลื่นแสงที่มีพลังงานสูง คล้ายกับรังสียูวี ที่หากดวงตาได้รับบ่อยๆ จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในเซลล์จอประสาทตา เซลล์เหล่านี้จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง ทำให้การมองเห็นเปลี่ยนไป เช่น ภาพไม่ชัด ค่าสายตาเปลี่ยน เห็นจุดดำกลางตา และอาจนำไปสู่โรคจอประสาทตาเสื่อมในระยะยาว



แสงสีฟ้า ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการนอนหลับ


จากข้อมูลรายงาน Digital Stat 2022 ของ We Are Social ที่จะเจาะลึกถึง Data & Insight ข้อมูลพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของคนไทย ณ ต้นปี 2565 สำรวจพบว่าผู้คนใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง 48 นาที ไปกับแอปพลิเคชั่นในมือถือ ซึ่งบ่งบอกได้ว่าหลายๆ คน อาจเล่นมือถือตั้งแต่ตื่นนอน จนหลับตาไปพร้อมกัน


ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :  https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/data-mobile-insight-from-digital-stat-2022-we-are-social/ 


ในช่วงเวลาก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมง เป็นช่วงที่กลไกร่างกาย ทั้งสายตา ไต เยื่อหุ้มหัวใจเริ่มเข้าสู่โหมดพักผ่อน หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมมาทั้งวัน หากช่วงเวลาที่ควรจะพักกลับถูกรบกวนจากแสงสีฟ้า สมองคุณจะยังตื่นตัว และสั่งการไม่ให้หลั่งสารเมลาโทนินออกมา คุณจึงไม่รู้สึกง่วงแม้จะอยากนอนแค่ไหน เพราะยังคงถูกกระตุ้นด้วยแสง กลไกการนอนหลับจะเริ่มขึ้นก็ต่อเมื่อคุณปิดหน้าจอ ห้องมืดสนิท เพื่อให้สารเมลาโทนินทำงานได้

การนอนดึกบ่อยๆ ส่งผลให้คุณภาพการนอนคุณแย่ลงเรื่อยๆ ยิ่งอดนอนการตื่นเช้าก็ยิ่งไม่สดชื่น อารมณ์หงุดหงิด สมองเบลอ ขี้หลงขี้ลืม เพราะนาฬิกาชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กับ Growth Hormone (ฟื้นฟูร่างกายขณะนอนหลับ) และ Cortisol Hormone (ฮอร์โมนความเครียด) แปรปรวนไปด้วย



แนะนำวิธีการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

  • งดการเล่นมือถือ หรือดูซีรีส์ที่ทำให้สมองเกิดความคิด ในช่วงเวลาอย่างช้าสุด 20 นาทีก่อนนอน และเอาเครื่องมือสื่อสารไว้ให้ไกลจากหัวนอน

  • เข้านอนเป็นเวลา ในช่วงระหว่าง 21.00 น. - 00.00 น. เพื่อสร้างนิสัยให้ร่างกายจดจำ

  • การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ก่อนนอนก็ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายได้

  • งดชา กาแฟ น้ำตาล ช่วงมื้อเย็น หรือมื้อดึก

  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการนอนหลับ ห้องไม่มีแสงไฟ อุณหภูมิไม่หนาวหรือร้อนเกินไป

  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย Serotonin หรือ Tryptophan ก็ช่วยให้นอนหลับง่ายได้ เช่น นม ถั่ว กล้วยหอม แซลม่อน ทูน่า เป็นต้น


หากมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ นอนหลับยาก นอนเกิน 30 นาที แล้วไม่หลับ ติดต่อกันนาน 1-2 สัปดาห์ หรือดวงตาเคลื่อนไหวขณะนอนหลับ แม้ทำตามขั้นตอนที่แนะนำไปแล้ว ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาทางสุขภาพ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นร่วมด้วย




สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Ati-Aing












Commentaires

Les commentaires n'ont pas pu être chargés.
Il semble qu'un problème technique est survenu. Veuillez essayer de vous reconnecter ou d'actualiser la page.
bottom of page