top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

ไม่ตรวจก็ไม่รู้ กับโรคความดันสูง ที่เราทุกคนมีความเสี่ยง



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...




ไม่ตรวจก็ไม่รู้ กับโรคความดันสูงที่เราทุกคนมีความเสี่ยง


ปัญหาสุขภาพจากโรคร้ายแรงทั้ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคเบาหวาน ล้วนมาจากระบบการทำงานในร่างกายมีภาวะไม่สมดุลต่อการทำงาน หนึ่งในสาเหตุที่ส่งผล นั่นคือระบบการไหลเวียนโลหิตที่ผิดปกติและทำงานหนักจนเกิดเป็น ‘โรคความดัน’



ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนสร้างความเข้าใจถึงโรคความดันที่คนไทยป่วยและเสี่ยงสูง




อาหารไทยที่เน้นปรุงจัด เช่น ปลาร้า เมนูผัด แกงต่างๆ

ส่งผลให้คนไทยเสี่ยงความดันสูง





ความดันโลหิต คืออะไร

ความดันโลหิต (Blood Pressure) คือ ค่าของแรงดันเลือดที่ถูกสูบฉีดอยู่ภายในหลอดเลือด ซึ่งเกิดได้จากการบีบตัวของหัวใจ เพื่อสูบฉีดเลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยความดันเลือดจะเกิดขึ้นทั้งขณะที่หัวใจบีบตัวและหัวใจคลายตัว เพราะเลือดต้องมีการไหลเวียนตลอดเวลาทั่วร่างกาย ดังนั้น ความดันเลือดจะเกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นเดียวกัน


ค่าความดันโลหิตที่เราวัดกันนั้นจะสามารถวัดได้เป็น 2 ค่า คือ

  1. ความดันช่วงบนจากการบีบตัวของหัวใจ (Systolic) ระดับปกติจะอยู่ที่ ต่ำกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท

  2. ความดันช่วงล่างจากการคลายตัวของหัวใจ (Diatolic) ระดับปกติจะอยู่ที่ ต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท



ลองสังเกตกันดูนะคะ วัดความดันโลหิตครั้งหน้า

ระดับความดันทั้ง 2 ค่าคุณปกติอยู่หรือเปล่า?



ความดันโลหิต คืออะไร




เพราะความดันโลหิตมีปัญหา เกิดเป็นโรคความดันสูง


เมื่อค่าความดันโลหิตไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป คือความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และนำไปสู่ภาวะที่ความดันทำให้เส้นเลือดเกิดการแข็งตัว เลือดค้างนานเส้นเลือดที่อวัยวะเสื่อม หัวใจขาดเลือด

โรคความดันสูง (Hypertension) มักไม่เกิดปัญหาโดยตรงและตรวจไม่พบสาเหตุแน่ชัด แต่มักแฝงไปด้วยภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคไต เบาหวาน หลอดเลือดแดงตีบ หลอดเลือดไตตีบ เสี่ยงเกิดเนื้องอกบบริเวณต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต เส้นเลือดในสมองอุดตัน ไตวายเรื้อรัง




สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในไทย


โรคความดันโลหิตสูง ถูกจัดให้เป็นโรคที่มีปัญหาทางสุขภาพต่อประชากรโลก เพราะมีอัตราการเสียชีวิตสูงและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2568 จะมีผู้ป่วยทั่วโลกราว 1.56 พันล้านคน

ในประเทศไทยเอง ก็เป็นไปตามแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นในอัตราผู้ป่วยโลกเช่นเดียวกัน จากการสำรวจผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคนในปี 2552 เป็น 13 ล้านคน ในปี 2557 และผู้ที่มีภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูงประมาณ 10 ล้าน ความน่ากังวลคือ กว่า 70% ไม่รู้ตัวว่าป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจาก โรคนี้ไม่ได้มีอาการที่สามารถบอกได้ชัดเจนจนกว่าจะได้รับการวัดค่าความดันเลือด




โรคความดันสูง ไม่มีสัญญาณเตือนและเกิดได้กับทุกคน

แต่ในวัยผู้ใหญ่พบสูงถึง 25-30% และพบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง




อันตรายจากความดันโลหิตสูง
อันตรายจากความดันโลหิตสูง



ความดันสูง ประเมินเสี่ยงก่อนสาย เพราะหากรู้ตัวอาจรุนแรงระยะสุดท้าย


  • มีอาการเวียนศีรษะ ตึงช่วงต้นคอ มักมีอาการช่วงตื่นนอน

  • หากมีภาวะความดันสูงเป็นเวลานนานจะมีอาการใจสั่น อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว เลือดกำเดาไหล

  • สาเหตุอาจเกิดได้จาก ภาวะทางอารมณ์ (ความเครียด), การออกกำลังกาย, ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ คาเฟอีน, พันธุกรรม, น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน, รับประทานอาหารเค็มจัด, รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคไข้หวัด ยาลดความอ้วน ยาแก้ปวด




ดื่มน้ำน้อย ส่งผลให้ระบบไหลเวียนทำงานหนัก

เลือดมีความข้น หนืด ส่งผลให้ความดันเลือดสูง





สาเหตุหัวใจขาดเลือกจากความดันโลหิตสูง
สาเหตุหัวใจขาดเลือกจากความดันโลหิตสูง



ป้องกันความดันโลหิตสูงง่ายๆ แค่ลด ละ เลิก


  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยโรคแทรกซ้อน

  • จำกัดปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน ไม่ควรเกิน 1 ช้อนชา ลดการทานอาหารที่มีกุ้งแห้ง ผักกาดดอง ปลาหมึกแห้ง ปลาร้า หอยดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมซอง เพราะมีปริมาณโซเดียมสูง

  • ดูแล Mental Health ให้ไม่เครียดเกินไป สุขภาพจิตดี ผ่อนคลายช่วยลดความเสี่ยงได้

  • รับประทานที่ดี เช่น อะโวคาโด กล้วยหอม ปลาแซลมอน ช่วยให้ร่างกายขับโซเดียมทางปัสสาวะได้มากขึ้น

  • รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช นมไขมันต่ำ

  • รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพราะการตรวจสุขภาพจะสามารถป้องกัน และทราบได้อย่างแน่ชัดว่าคุณมีภาวะความดันสูงหรือไม่



ทานส้มตำมากเกินไป ส่งผลให้มีปริมาณโซเดียมมาก ทำให้ความดันโลหิตสูง
ทานส้มตำมากเกินไป ส่งผลให้มีปริมาณโซเดียมมาก ทำให้ความดันโลหิตสูง


ทานยามากเกินไป ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง
ทานยามากเกินไป ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง


แนะนำการตรวจสุขภาพที่ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ได้รับบริการตรวจที่ครอบคลุมในทุกเรื่องของสุขภาพ พร้อมได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงระบบการทำงานในร่างกาย พฤติกรรมที่สามารถส่งผลถึงโรคแทรกซ้อน และยังเสริมด้วยวิธีการรักษาที่ไม่พึ่งยาเพื่อลดภาวะโรคแทรกซ้อนที่อาจตามมา


พร้อมเข้ารับบริการได้อย่างสะดวก ไม่ต้องรอนาน บรรยากาศที่คลินิกผ่อนคลาย เป็นกันเอง









---------

สนใจเข้ารับการตรวจสุขภาพติดต่อ

Thrive Wellness Clinic 🌿 ไธรฟ์ คลินิก

โครงการ The Crystal

เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เฟส 1 ชั้น 2

📱โทร. 0959349640

📺instagram.com/thrivewellnessth

🕙เปิดทุกวัน 10:00-20:00








2 comentários


CBKM BOCU
CBKM BOCU
29 de out.

EPS Machine EPS Cutting…

EPS Machine Eps Raw…

EPS Machine EPS Recycling…

EPS Machine EPS Mould;

EPS Machine EPS Block…

EPP Machine EPP Shape…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine Aging Silo…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS and…

EPS Machine EPS and…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

Curtir

CBKM BOCU
CBKM BOCU
29 de out.

EPS Machine EPS Cutting…

EPS Machine Eps Raw…

EPS Machine EPS Recycling…

EPS Machine EPS Mould;

EPS Machine EPS Block…

EPP Machine EPP Shape…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine Aging Silo…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS and…

EPS Machine EPS and…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

Curtir
bottom of page