ภาวะต่อมหมวกไตล้า เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ โดยมากมักจะถูกมองข้ามไป เป็นโรคร้ายที่ถูกลืม ทำให้การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าโดยส่วนมากเกิดขึ้นช้า อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นแค่อาการที่แสดงให้เห็นก่อนจะเกิดโรคเท่านั้น ยังไม่มีโรคหรือสิ่งร้ายแรงอะไร จึงทำให้หลายๆ คนไม่ได้ทำความเข้าใจและไม่รู้จัก แต่อาการของภาวะนี้จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรง ไม่มีแรง ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา การตรวจวินิจฉัยภาวะนี้ ต้องตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ
ฮอร์โมน 2 ตัว ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด คือ คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA) ซึ่งการตรวจสุขภาพทั่วไปอาจไม่ครอบคลุมฮอร์โมน 2 ตัวนี้
ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) เป็นอวัยวะรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ที่หุ้มอยู่บริเวณขั้วไตทั้งสองข้าง โดยเป็นอวัยวะอันหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดในร่างกาย เช่น
ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความเครียดโดยปกติแล้วร่างกายจะสร้างฮอร์โมนนี้ขึ้นมามากในตอนเช้า เพื่อทำให้ร่างกายตื่นตัวพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาในระหว่างวัน โดยฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือ ฮอร์โมนแห่งความเครียดนี้ จะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ฮอร์โมนดีเฮชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) เป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นฮอร์โมนเพศทั้งหญิงและชายต่อไป (Pre-sex hormones) เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน, เทสโทสเตอโรน โดยมีหน้าที่กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ ลดไขมัน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และทำให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉง มีพลัง และ DHEA เป็นฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยเพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าให้กับร่างกาย (Boost energy) เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ (Muscle building) ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย (Premature skin aging) และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (Sexual drive)
ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียม และโปแตสเซียม ซึ่งช่วยในการควบคุมของเหลวในร่างกาย ความเครียดส่งผลอย่างไรกับต่อมหมวกไต
ต่อมหมวกไตล้า เกิดจาก
เนื่องจากต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมน(สามารถตรวจดูที่ช่วยขจัดและต่อสู้กับ ความเครียด เพื่อให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุล แต่ถ้าร่างกายมีความเครียดอย่างต่อเนื่อง หรือออกกำลังกายเกินพอดี จนต้องผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาเพื่อจัดการความเครียดจะส่งผลทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว ถ้าร่างกายมีการหลั่งคอร์ติซอลออกมาอย่างต่อเนื่องหรือมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้
โดยนอกจากความเครียดทางจิตใจแล้วความเครียดทางร่างกายอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้เช่นกัน ความเครียดทางร่างกายอาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การนอนดึก การไม่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ การรับประทานของหวานหรือน้ำตาลมากเกินไป
บุคคลที่อาจเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ส่วนมากมีอาการ อย่างน้อย 5 ข้อตามรายการด้านล่าง
• ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
• อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับ ช่วงกลางวัน
• ง่วงแต่นอนไม่หลับ
• มีอาการวิงเวียน ศีรษะ หน้ามืด เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)
• อยากของหวาน, ของเค็ม
• ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
• ปวดประจำเดือนบ่อย
• เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
• ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
• ท้องผูก
• เครียด ซึมเศร้า
• คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง
• รู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อได้กินน้ำตาล
• ผิวแห้งและแพ้ง่าย
ต่อมหมวกไตล้า รักษา
คำแนะนำสำหรับบุคลคนที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า
• นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชัวโมง ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม
• รับประทานอาหารเช้า ก่อน 10.00 น. (Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ แต่หลัง 10.00 น. ระดับCortisol จะลดลงทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย)
• รับประทานมื้อเล็กๆและบ่อย ๆ แทนการทานอาหารมื้อหลัก ๆ เพียง1-2 มื้อ
• ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง (Moderate intensity exercise) การออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
• หาวิธีคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว
• อาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น
Ashwaghandha (โสมอินเดีย) L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว) Phosphatidylserine
(สารสกัดจากถั่วเหลือง) วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6
โดยปกติการรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า ให้ฮอร์โมนต่างๆกลบมาสู่ภาวะสมดุล อาจใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2-3 เดือน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก็จะส่งเสริมให้การรักษามีประสิทธิภาพขึ้น และไม่ต้องกลับเข้าสู่ภาวะต่อมหมวกไตล้าได้อีก
Comments