

Leaky Gut
ลำไส้รั่ว
All disease begins in the gut … โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายเริ่มต้นที่ลำไส้
ลำไส้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เปรียบได้กับสมองที่สองของเรา ทุกสิ่งที่เรารับประทานเข้าไป ล้วนต้องผ่านการย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็กทั้งสิ้น ผนังลำไส้เล็กจึงเสมือนเป็นปราการคัดกรองสารเข้าสู่ร่างกาย แต่ด้วย lifestyle ชีวิตสมัยใหม่ วิถีชีวิตที่เร่งรีบ พฤติกรรมการรับประทานอาหารเดิมๆซ้ำๆ และล้วนเป็น junk food หรือ processed food ไม่มีโภชนาการที่ดี แถมยังมีปริมาณสารพิษตกค้างเกินกำหนดในอาหาร ล้วนส่งผลต่อความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ จนทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการของ "ภาวะลำไส้รั่ว"

ตรวจระดับสารพิษตกค้างและการกำจัดสารพิษ Heavy Metal Test
สมองล้า เซลล์เสื่อมสภาพ และการอักเสบ อาจเกิดจาก โลหะหนักที่เราเผชิญในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว และก่อให้เกิดภาวะสุขภาพต่างๆ จึงจำเป็นต้องกำจัดสารพิษอย่างเหมาะสม

ตรวจสุขภาพลำไส้ Urine Organic Test
การที่แบคทีเรียภายในลำไส้ไม่สมดุล อาจก่อให้เกิดโรค หรืออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เพราะลำไส้คือสมองที่สองของคุณ และมีความสำคัญมากกว่าที่คุณคิด
Treatment แนวทางการรักษา
การแก้ไขจึ งเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
งดอาหารด้วยการงดกินแป้ง และน้ำตาลขัดขาว หันมาทานข้าวกล้องแทน
หากมีอาหารที่แพ้ให้งดอาหารที่แพ้
กินผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อช่วยการทำงานของทางเดินอาหารทั้งระบบ
ลดการใช้ยาจากการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ
ปรับสภาพจิตใจลดความเครียด
เข้านอนให้ตรงเวลา และเร็วขึ้น
ทาน Probiotic

สาเหตุ
ภาวะ ลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) ไม่ใช่เป็นการที่อาหารหลุดออกมานอกลำไส้ แต่เป็นการที่สารอื่นๆซึ่งไม่ใช่สารอาหาร หรือสารอาหารที่โมเลกุลใหญ่เกินไปถูกดูดซึมเล็ดลอดผ่านผนังลำไส้ เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ปกติแล้วเซลล์ในลำไส้เล็กจะเรียงตัวชิดกันเป็นระเบียบ และมีการดูดซึมเฉพาะสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ส่วนสารพิษหรืออาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์จะถูกส่งผ่านและขับถ่ายออกจากร่างกายต่อไป
แต่เมื่อเกิดภาวะลำไส้รั่วนั้นจะมีการบวมของเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ ทำให้เกิดช่องว่างที่บริเวณ ‘tight junctions’ ขึ้น ซึ่งตรงช่องว่างนี้เองที่ทำให้สารพิษและอาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์เล็ดลอดเข้าไปสู่ระบบไหลเวียนเลือด และเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาการอักเสบต่างๆ ภายในร่างกายตามมาได้
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหรือสารพิษถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจากภาวะลำไส้รั่ว กลไกการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจะสร้างแอนติบอดี้ (Antibody) IgG ไปจับกับอาหาร สารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ แล้วก่อตัวเป็น Immume Complex จัดเป็นการแพ้ชนิดที่ 3 "Immume Complex-Mediated Hypersensitivity" หรือ "Delayed Food Allergy" ลักษณะเฉพาะของการแพ้แบบนี้คือ อาการจะเป็นไปแบบช้าๆ จึงทำให้ยากต่อการหาสาเหตุ
มีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างภาวะลำไส้รั่วกับโรงเรื้อรังหลายชนิด โดยนักวิจัยค้นพบว่า ความผิดปกติในการซึมผ่านเยื่อบุผนังลำไส้มีความสัมพันธ์กับโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome; IBS) โรคทางเดินอาหารอักเสบโครห์น (Cronh’s disease) โรคเซลิแอค (Celiac Disease) โรคแพ้ภูมิตนเอง (Systemic Lupus Erythematosus; SLE) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) และโรคหอบหืด เป็นต้น
อาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปฏิกิริยาการแพ้อาหารแฝง ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของภาวะลำไส้รั่ว โดยจะไม่ได้แสดงอาการแพ้รุนแรงทันทีหลังรับประทานอาหาร แต่มักจะมีอาการเพียงเล็กน้อย
อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีภาวะลำไส้รั่ว ได้แก่
- มีแก๊สในทางเดินอาหารมากผิดปกติ ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง
อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ หรือท้องเสียสลับกับท้องผูก
- อาการทางผิวหนัง เช่น ลมพิษ ผื่นแดง คัน ผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ สิวอักเสบเรื้อรังที่รักษาไม่หาย
- อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น จาม คันจมูก คอบวม ไอ หอบหืด หายใจลำบาก
- อาการทางระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดศีรษะไมเกรน การตัดสินใจช้าลง สมาธิลดลง
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ
- มือเท้าเย็นโดยไม่ได้มีความผิดปกติของโรคต่อมไร้ท่ออื่นๆ (เช่น ไทรอยด์)
- ปวดศีรษะหรือปวดตามข้อไม่ทราบสาเหตุ
- น้ำหนักขึ้นง่ายผิดปกติ
อาการเบื้องต้นที่ดูไม่น่าอันตรายเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากภาวะลำไส้รั่วร่วมด้วย โดยพบว่าเมื่อทำการรักษาภาวะลำไส้รั่วแล้ว อาการดังกล่าวก็จะสามารถทุเลาลงไปได้
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าลำไส้รั่วอาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้
- ความเครียด
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การรับประทานอาหารประเภทนมและน้ำตาลมากๆ
- อาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน (ในคนที่มีความไวต่อสารนี้)
- การสูบบุหรี่
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- รวมถึง ภาวะลำไส้อักเสบจากการได้รับยาปฏิชีวนะ หรือยาประเภท NSAIDS เป็นเวลานานๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอักเสบของเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารและเกิดภาวะลำไส้รั่วได้